☺My Diary☺
ผ้าขนหนูลดปวดต้นคอ
อาการปวดต้นคอ ที่อาจเกิดจากการอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งผิดท่าต้องก้ม-เงยหน้าเป็นเวลานาน หรือเกิดจากความเครียด มีวิธีบรรเทาอาการเบื้องต้น ซึ่งในหนังสือ New Choices in Natural Healing แนะนำให้ใช้ผ้าขนหนู
2 วิธีดังนี้
วิธีที่ 1 มีขั้นตอน คือ
- พับปลายผ้าขนหนูตามแนวยาวทั้งสองด้านเข้าหากันในตำแหน่งกึ่งกลางผ้า
- ม้วนปลายผ้าจากด้านซ้ายไปขวาตามแนวกว้าง
- นอนหงาย นำผ้าขนหนูที่ม้วนไว้มาหนุนคอ และเลื่อนขึ้นบน-ล่างของคอ เพื่อให้ผ้าขนหนูอยู่ในตำแหน่งที่สบายคอมากที่สุด
- นอนค้างไว้ในท่านั้นนาน 15-20 นาที
วิธีที่ 2 มีขั้นตอน คือ
- พับผ้าขนหนูตามแนวยาวเป็นสามทบ
- ถือปลายผ้าทั้งสองข้าง พาดส่วนกลางผืนไว้บริเวณท้ายทอย
- ออกแรงดึงปลายปลายผ้าทั้งสองข้างมาด้านหน้า และพยายามหงายศรีษะไปด้านหลังเพื่อต้านแรงดึงปลายผ้า
- ทำท่านี้ค้างไว้ 30 วินาที แล้วจึงผ่อนแรงโดยทำทั้งหมด 10 ครั้ง
อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายอย่างผ้าขนหนู สามารถนำมาบรรเทาอาการปวดเมื่อยต้นคอ
ได้ง่ายๆ แต่ถ้าอาการปวดไม่ทุเลา ปวดเพิ่มมากขึ้น ปวดร้าวไปที่บริเวณอื่น เช่น ไหล่ แขน โดยอาจมีอาการชา หรือกล้ามเนื้อมือหรือขาอ่อนแรงร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์
แก้ความจำเสื่อมด้วยใบบัวบก
บัวบก มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Centellaasiaticaและมีชื่อภาษาอังกฤษ
คือ Tiger's herb ซึ่งมาจากการที่เสือบาดเจ็บมักจะลงกลิ้งไปกลิ้งมาบนต้นบัวบก
ที่เลื้อยปกคลุมดิน เพื่อรักษาแผลให้ตัวเองผู้คนส่วนมากทราบกันว่าเป็นสมุนไพร
มีสรรพคุณแก้อาการช้ำใน แต่ในทางการแพทย์แผนโบราณยังมีการกล่าวถึง
สรรพคุณด้านการบำรุงประสาทลดความบกพร่องในเรื่องการเรียนรู้และความจำ
คือ Tiger's herb ซึ่งมาจากการที่เสือบาดเจ็บมักจะลงกลิ้งไปกลิ้งมาบนต้นบัวบก
ที่เลื้อยปกคลุมดิน เพื่อรักษาแผลให้ตัวเองผู้คนส่วนมากทราบกันว่าเป็นสมุนไพร
มีสรรพคุณแก้อาการช้ำใน แต่ในทางการแพทย์แผนโบราณยังมีการกล่าวถึง
สรรพคุณด้านการบำรุงประสาทลดความบกพร่องในเรื่องการเรียนรู้และความจำ
จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและฤทธิ์ป้องกันภาวะสมองเสื่อมของบัวบก
ในวิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสรีรวิทยาทางการแพทย์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของคุณธนียา หาวิเศษ ในปี พ.ศ. 2549
ในวิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสรีรวิทยาทางการแพทย์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของคุณธนียา หาวิเศษ ในปี พ.ศ. 2549
ทดลองให้สารสกัดน้ำบัวบกแก่หนูตั้งแต่ 100, 300 และ 600 ม.ก.
ต่อน้ำหนักตัว (ก.ก.) เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดบัวบกขนาด 100 ม.ก.
ต่อน้ำหนักตัว (ก.ก.) มีฤทธิ์คลายความกังวล นอกจากนั้นยังพบว่าสารสกัดขนาด
600 ม.ก.ต่อน้ำหนักตัว (ก.ก.) มีผลเพิ่มการเรียนรู้และความจำของหนูที่ใช้ทดลอง
ดังนั้นการศึกษานี้จึงสนับสนุนความน่าเชื่อถือในสรรพคุณของบัวบกตามแนวทาง
การแพทย์แผนโบราณดังกล่าว
ต่อน้ำหนักตัว (ก.ก.) เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดบัวบกขนาด 100 ม.ก.
ต่อน้ำหนักตัว (ก.ก.) มีฤทธิ์คลายความกังวล นอกจากนั้นยังพบว่าสารสกัดขนาด
600 ม.ก.ต่อน้ำหนักตัว (ก.ก.) มีผลเพิ่มการเรียนรู้และความจำของหนูที่ใช้ทดลอง
ดังนั้นการศึกษานี้จึงสนับสนุนความน่าเชื่อถือในสรรพคุณของบัวบกตามแนวทาง
การแพทย์แผนโบราณดังกล่าว
สมุนไพรไทยใกล้ตัวที่มีประโยชน์ หาซื้อง่ายหรือจะปลูกเองก็ไม่ยุ่งยากอย่างบัวบก
สามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลายโดยนำมาทำเป็นผักจิ้ม
ผักเคียง หรือคั้นแล้วดื่มน้ำจากใบบัวบกก็บำรุงสมองได้ง่ายๆ ด้วยวิธีธรรมชาติ
แถมราคาประหยัดอีกด้วย
สามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลายโดยนำมาทำเป็นผักจิ้ม
ผักเคียง หรือคั้นแล้วดื่มน้ำจากใบบัวบกก็บำรุงสมองได้ง่ายๆ ด้วยวิธีธรรมชาติ
แถมราคาประหยัดอีกด้วย
5 วิธีเลือกที่นั่งต้านกระดูกเสื่อม
เมื่อมีอายุมากขึ้นทุกคนอาจเป็นโรคกระดูกเสื่อมได้ตามธรรมชาติแต่สำหรับผู้ที่
ต้องนั่งอยู่บนเก้าอี้หลังโต๊ะทำงานหรือนั่งอยู่บนเก้าอี้หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน
โรคนี้อาจมาเยือนได้เร็วกว่าบุคคลอื่นซึ่งวิธีการป้องกันหรือชะลอภาวะกระดูกเสื่อม
ต้องนั่งอยู่บนเก้าอี้หลังโต๊ะทำงานหรือนั่งอยู่บนเก้าอี้หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน
โรคนี้อาจมาเยือนได้เร็วกว่าบุคคลอื่นซึ่งวิธีการป้องกันหรือชะลอภาวะกระดูกเสื่อม
แบบง่ายๆ นั้นทำได้โดยการเลือกที่นั่งให้เหมาะสม 5 วิธี ดังนี้
1. ความสูงของเก้าอี้ต้องเท่ากับช่วงยาวของขาท่อนล่าง (น่อง) ตั้งแต่ข้อพับหลังหัวเข่าลงไปถึงเท้าเพื่อจะได้วางเท้าราบพื้นพอดี
2. รูปร่างของเบาะนั่ง ต้องไม่บุ๋มเป็นแอ่งมิเช่นนั้นจะทำให้กระดูเชิงกราน(ซึ่งเป็นฐานของกระดูกสันหลังทั้งหมด) บิดงอ
3. เบาะไม่ควรอยู่ลึกเกินไป และพนักพิงไม่ควรอยู่ไกลเกินไปหากพิงไม่ถึงและต้องเอนตัวไปด้านหลัง จะทำให้หลังงอ
4. ควรมีพนักพิงเพื่อช่วยดันหลังให้อยู่ในท่าตรงตามธรรมชาติ
5. ที่เท้าแขนอยู่ในระดับที่งอข้อศอกแล้ววางแขนได้พอดี เพราะนอกจากใช้พักแขน
และข้อศอกแล้วยังใช้สำหรับดันเพื่อยืดตัวให้ตรงขึ้นได้เล็กน้อยเพียงเท่านี้คงไม่ยากเกินไปที่จะใส่ใจกับสิ่งของที่เราต้องใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว
1. ความสูงของเก้าอี้ต้องเท่ากับช่วงยาวของขาท่อนล่าง (น่อง) ตั้งแต่ข้อพับหลังหัวเข่าลงไปถึงเท้าเพื่อจะได้วางเท้าราบพื้นพอดี
2. รูปร่างของเบาะนั่ง ต้องไม่บุ๋มเป็นแอ่งมิเช่นนั้นจะทำให้กระดูเชิงกราน(ซึ่งเป็นฐานของกระดูกสันหลังทั้งหมด) บิดงอ
3. เบาะไม่ควรอยู่ลึกเกินไป และพนักพิงไม่ควรอยู่ไกลเกินไปหากพิงไม่ถึงและต้องเอนตัวไปด้านหลัง จะทำให้หลังงอ
4. ควรมีพนักพิงเพื่อช่วยดันหลังให้อยู่ในท่าตรงตามธรรมชาติ
5. ที่เท้าแขนอยู่ในระดับที่งอข้อศอกแล้ววางแขนได้พอดี เพราะนอกจากใช้พักแขน
และข้อศอกแล้วยังใช้สำหรับดันเพื่อยืดตัวให้ตรงขึ้นได้เล็กน้อยเพียงเท่านี้คงไม่ยากเกินไปที่จะใส่ใจกับสิ่งของที่เราต้องใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น